ยุงลายบ้านและยุงลายสวน
เป็นที่รู้กันว่าเป็นพาหะของไข้เลือดออก โรคนี้ระบาดในแถบเอเชียตะวันออกฉียงใต้ มีรายงานพบผู้ป่วยปีละ 50 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 25,000 คน และประเทศไทยมักพบการระบาดในทุก 2-4 ปี
อาการของไข้เลือดออกที่พบคือ มีไข้สูงเฉียบพลัน อาจียน รับประทานอาหารไม่ได้ ตับโต และอาจมีเลือดกำเดาออก พบการเปลี่ยนแปลงทางเกร็ดเลือด และมีรั่วของเหลวออกจากหลอดเลือด จึงจัดเป็นโรคติดต่ออันตราย เพราะอาจทำให้เกิดการช็อกเป็นอัตรายถึงแก่ชีวิตได้
โรคนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ มียุงลายสวนเป็นพานะนำเชื้อไวรัสเดงกี ยุงจะมีเชื้อตลอดชีวิต และผลการวิจัยพบว่ายุงที่มีเชื้อสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสเดงกีไปยังลูกหลานได้ ซึ่งเชื้อนี้มี 4 ซีโรทัยป์ ได้แก่ เดงกี 1,เดงกี 2,เดงกี 3,เดงกี 4 การติดเชื้อเกิดจากถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีกัด ในการติดเชื้อเดงกีครั้งแรกมักจะไม่แสดงอาการ หรือหากมีอาการจะมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรือจุดเลือดออกที่ผิวหนัง แต่ไม่กี่วันก็หายไปเอง ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้นไปตลอดชีวิต แต่ยังสามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก หากติดเชื้อไวรัสเดงกีต่างชนิดกับครั้งแรก
การติดเชื้อซ้ำด้วยไวรัสเดงกีต่างชนิดกันมักจะทําให้เกิดโรคไข้เลือดออก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่มีในครั้งแรกไปกระตุ้นให้มีการเพิ่ม ปริมาณของไวรัสชนิดหลัง และนําไวรัสเข้าสู่เซลล์ เป็นผลให้มีไวรัสปริมาณมากในร่างกายของผู้ป่วย นอกจากนี้พบว่าเซลล์ภูมิคุ้มกันเกิดการตายแบบทําลายตัวเองทําให้ภูมิคุ้มกันลดลง อาการของผู้ป่วยแต่ละรายรุนแรงต่างกัน หากรักษาไม่ทันอาจทําให้ถึงแก่ชีวิตได้
การใช้สารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง
- สารคล้ายจูวิไนล์ฮอร์โมน เช่น เมทโทปรีน
- สารยับยั้งการสร้างผนังลําตัวแมลง เช่น ไดฟลูเบนซูรอน
พืชสมุนไพร ที่ใช้ทําน้ำมันหอมระเหย
- ตะไคร้หอม
- ผักคาวตอง
- ต้นคนทิสอ
- ต้นประยงค์
- ต้นแก้ว
ขอบคุณสาระและความรู้สถาบันวิจัยสมุนไพร สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์
นอกจากการใช้สารเคมีแล้ว ยังมีอีกทางเลือกในการกำจัดยุงลาย
น้ำมันหอมระเหขจากพืชหลายชนิดมีฤทธิ์ในการไล่แมลง โดยเฉพาะอย่างยิ่งใช้ในการไล่ยุง เช่น น้ำมันตะไคร้หอม ขมิ้นชัน และประเทศไทยมีความหลากหลายของพรรณพืชสมุนไพรที่มีน้ำมันหอมระเหยอยู่ป็นจำนวนมาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ได้ตระหนักถึงความสำคัญของสมุนไพรซึ่งเป็นทรัพยากรของชาติ และได้ส่งเสริมการศึกษาวิจัยเพื่อให้เกิดองค์ความรู้ใหม่ และสนับสนุนการพัฒนาให้เกิดเป็นผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่จะสามารถนำมาใช้ในการป้องกันกำจัดแมลงทางการแพทย์โดยเฉพาะกับ “ยุง” พาหะนำเชื้อโรคร้ายที่อาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตขอประชาชน การศึกษาวิจัยได้ดําเนินการคัดเลือกพืชสมุนไพรที่มีข้อมูลการใช้พื้นบ้านหรือตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันหอมระเหย หรือมีรายงานทางวิชาการที่เกี่ยวข้องกับน้ำมันหอมระเหยของพืช 12 วงศ์จํานวน 15 ชนิด โดยได้ทําการรวบรวมตัวอย่างจากแหล่งธรรมชาติ และตรวจสอบชื่อชนิดตามหลักอนุกรมวิธานพืช ต้องการใช้ ในปริมาณที่เพียงพอ
สําหรับงานศึกษาวิจัยที่เกี่ยวข้อง ล้างให้สะอาดด้วยน้ำ ทําการสกัดน้ำมันหอมระเหย โดยการกลั่นด้วยน้ำ เพื่อให้ได้น้ำของสมุนไพรที่มีคุณภาพดี แล้วนำน้ำมันหอมระเหยที่ได้ไปศึกษาคุณสมบัติทางกายภาพทางเคมี และพิสูจน์เอกลักษณ์ทางเคมี เพื่อประโยชน์ในการควบคุม รวมถึงการจัดเตรียมตัวอย่างวัตถุดิบพืชสด คัดเลือกเฉพาะส่วนที่เพื่อให้ได้น้ำมันหอระเหย สมุนไพรป้องกันกําจัด
ในปัจจุบันยังมีแมลงอีกชนิดหนึ่งที่มีลักษณะคล้ายกับยุง นั้นก็คือริ้นน้ำจืด
ริ้นน้ำจืด วงศ์ Chironomidae
แมลงกลุ่มนี้มีรูปร่างคล้ายยุงมาก ต่างกันที่ไม่มีอวัยวะสําหรับแทงดูด ส่วนหัวมีขนาดเล็กฝังอยู่ในส่วนอก ตัวเล็ก บอบบาง ขายาว ปากไม่พัฒนา ทําให้เป็นตัวเต็มวัยที่ไม่สามารถกินอะไรได้เลย และปีกไม่มีเส้นปีก รินน้ำจืดเป็นแมลงที่ไม่กัด เกิดมาเพื่อผสมพันธุ์อย่างเดียว ริ้นน้ำจืดเพาะพันธุ์ตามแหล่งน้ำขังใหม่ๆ ตัวอ่อนอยู่ในน้ำ ลําตัวยาวคล้ายหนอน มีสีแดง จึงเรียกว่าหนอนแดง (blood worm) ชอบอยู่ที่พื้นน้ำ กินพืชหรือซากเน่าเปื่อยเป็นอาหาร เมื่อเป็นดักแด้จะลอยอยู่ผิวน้ำ เพื่อกลายเป็นตัวเต็มวัย ไม่มีรายงานว่าพบริ้นน้ำจืดนําโรคติดเชื่อมาสู่คน แต่เป็นตัวการสร้างสารก่อภูมิแพ้ทําให้เกิดอาการหอบหืดได้ในผู้ป่วยโรคภูมิแพ้ นอกจากนั้นยังรบกวนก่อความรําคาญโดยการอยู่รวมกันเป็นฝูงใหญ่รูปร่างลักษณะตัวเต็มวัยของริ้นในสกุล Culicoides
วงจรชีวิตของหมัด
เนื่องจากหมัดเป็นแมลงที่ดูดกินเลือดจากโฮสต์ชนิดต่าง ๆ รวมทั้งคนด้วย การกัดดูดกินเลือดของหมัด โดยผู้ป่วยที่มีภาวะภูมิแพ้ต่อน้ำลายของหมัดจะถูกกระตุ้นให้เกิดผื่นผิวหนัง (papule) และอาจเป็นสาเหตุของโรคลมพิษชนิด papular urticaria ซึ่งมีลักษณะเป็นผื่นบวมที่ผิวหนัง (wheal) การดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีอาการแพ้นี้ ทําได้โดยให้ยาในกลุ่ม antihistamines ชนิดรับประทาน หรืออาจให้ชนิดฉีดในผู้ป่วยที่มีอาการแพ้รุนแรง อาจให้ยาในกลุ่ม prednisolone เพื่อลดการอักเสบ กรณีที่มีการติดเชื้อที่ผิวหนังควรให้ยาแก้อักเสบด้วย
หมัดบางชนิดสามารถนําเชื่อโรคต่างๆ มาสู่คนได้ได้แก่ กาฬโรค (plague) จากเชื้อแบคทีเรีย gram-negative coccobacilli Yersinia pestis, Murine typhus จากเชื้อริคเก็ตเซีย , Myxomatosis จากเชื้อไวรัส myxoma, Murine trypanosomiasis จากเชื้อโปรโตซัว Trypanosoma bruci และเป็นโฮสต์กี่งกลางของพยาธิ Hymenolepis diminuta, H. nana,Dypylidium caninum, Trichinella spiralis เป็นต้น นอกจากนั้นแล้ว ประชากรในประเทศในแถบละตินอเมริกาและทวีปแอฟริกาซึ่งมีการดูแลสุขลักษณะ
ไม่ดีนัก จะพบหมัดชนิด Tunga penetrans เป็นปรสิตภายนอกของคนและสัตว์เลี้ยง
หมัดคน (Human flea) ชนิดที่พบทั่วไป คือ Pulex irritans หมัดชนิดนี้ไม่มีแผงขนหนาและไม่มี mesopleural rod แต่มีลักษณะเฉพาะคือ ตําแหน่งของขนตาอยู่ใต้ตารวม เป็นปรสิตภายนอกของคน หนู สุกร และสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมอื่นๆ อาศัยอยู่ตามรอยแตกตามพื้น ที่นอนและรังของโฮสต์ การกัดของหมัดชนิดนี้ทําให้เกิดอาการแพ้ที่ผิวหนัง พบทั่วไปในประเทศแถบเขตร้อนที่ประชาชนยากจน เช่น อินเดีย ปากีสถาน แต่ไม่พบใประเทศไทย
การรักษาความสะอาดภายในที่อยู่อาศัยสามารถควบคุมการแพร่ระบาดของหมัดชนิดนี้ได้สารเคมีกําจัดแมลงที่ใช้ มักใช้ในรูปฉีดพ่นตามพื้น ควรหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกําจัดแมลงสําหรับหมัดชนิดนี้ ในที่นอน สารเคมีกําจัดแมลงที่ใช้ในการกําจัดหมัดชนิดนี้ส่วนใหญ่เป็นสารเคมี Insect growth regulator และ Synthetic pyrethroid
หมัดสุนัข (Dog flea), หมัดแมว (Cat flea) เป็นหมัดใน genus Ctenocephalides spp. ได้แก่ C. canis (Dog flea), C. felis (Cat flea) หมัดสองชนิดนี้มีทั่ง genal comb และ pronotal comb ลักษณะคล้ายคลึงกันมาก ความยาวส่วนหัวของหมัดสุนัขสัน (ประมาณ 1 1/2 เท่าของความสูง) และกลมมนกว่า ของหมัดแมว (ประมาณ 2 เท่าของส่วนสูง) แผงขนซื่แรกของ genal comb ของหมัดแมว สันกว่าแผงขนชื่ถัดๆ ไป พบเป็นปรสิตภายนอกของสุนัขและแมวแต่สามารถกัดคนได้ด้วย นอกจากนั้นระยะตัวอ่อนยังสามารถเป็น โฮสต์กึ่งกลาง (intermediate host) ของพยาธิตีดสุนัข Dipyidium caninum ด้วย
การกําจัดหมัดด้วยสารเคมีกําจัดแมลง สามารถทําได้โดยการใช้สารเคมีกับสัตว์เลี้ยงโดยตรง หรือใช้สารเคมีกับบริเวณที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยง สารเคมีกําจัดแมลงที่ใช้กําจัดหมัดในสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่อยู่ในรูปแบบของผงฝุ่น สเปรย์ฉีดพ่น หยดนํายาเข้มข้นปลอกคอโฟล์ม และแซมพู ซึ่งการใช้สารเคมีกําจัดแมลงกับสัตว์เลี้ยงนั้นควรใช้ด้วยความระมัดระวัง สําหรับการใช้สารเคมีกับบริเวณที่อยู่อาศัยของสัตว์เลี้ยงนั้นมักอยู่ในรูปแบบของการสเปรย์ฉีดพ่นให้ทั่วทั้งภายนอกและภายในกรงของสัตว์เลี้ยง การหมั่นตรวจตราและใช้สารเคมีที่กําจัดระยะตัวเต็มวัยของหมัดร่วมกับสารเคมีในกลุ่ม insect growth regulator จะช่วยลดการเกิดการดื้อสารเคมีกําจัดแมลง
ของหมัดได้
Chigoe มีชื่อเรียกได้หลายอย่าง เช่น sand flea, jigger, Nigua มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Tunga penetrans เป็นหมัดที่มีขนาดเล็กประมาณ 1 มิลลิเมตร หัวค่อนข้างเรียวแคบปล้องอกทั้ง 3 ปล้องมีขนาดแคบมากสั้นกว่าปล้องท้องปล้องแรก ไม่มีแผงขนหนา พบในอเมริกาใต้ แอฟริกา และอินเดีย แต่ไม่พบในประเทศไทย เป็นปรสิตภายนอกของคนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม อาศัยฝังตัวอยู่ใต้ผิวหนังของโฮสต์ ส่วนมากพบตามบริเวณซอกนิ้วเท้า ซอกนิ้วเท้า และฝ่าเท้า โดยใช้ส่วนหัวไขเข้าผิวหนังแล้วโผล่ปลายของส่วนท้องออกมา
หมัดเพศเมียจะปล่อยไข่หล่นลงสู่พื้นดิน โรคที่เกิดจากการฝังตัวใต้ผิวหนังของหมัดชนิดนี้ เรียกว่า Tungiasis ทําให้เกิดแผล และอาจติดเชื้อเกิดการอักเสบได้ ในกรณีที่พบหมัดชนิดนี้อยู่ใต้ผิวหนังต้องเอาตัวออก โดยการผ่าตัด การขูดออก หรือด้วยไฟฟ้านอก จากการใช้สารเคมีกําจัดแมลงในการกําจัดหมัดดังกล่าวข้างต้นแล้ว การใช้สารไล่แมลง (repellents) เช่น DEET (N-Ndiethyl toluamide) ก็สามารถป้องกันการถูกหมัดกัดได้ด้วย
ขอขอบคุณข้อมูลดี ๆ จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุขกระทรวงสาธารณสุขกลุ่มกีฏวิทยาทางการแพทย์