ข่าวสาร - สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย

การฝึกอบรมทางวิชาการประจำปี พ.ศ. 2567  ในหลักสูตร  “ความรู้พื้นฐานในการจัดการแมลงและสัตว์อื่น” วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567

???? สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย PMAT ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกำหนดการฝึกอบรมทางวิชาการประจำปี พ.ศ. 2567  ในหลักสูตร  “ความรู้พื้นฐานในการจัดการแมลงและสัตว์อื่น”  โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อการกระจายองค์ความรู้ทางชีววิทยา และนิเวศวิทยา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการกำจัดแมลงและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง . ???? วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567   เวลา 08.00 – 17.00 น. ???? โรงแรมเอส รัชดา ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ห้องแกรนด์บอลรูม . อัตราค่าลงทะเบียน . ลงทะเบียนและตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  . ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมจากสมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย ???? สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย โทร. 02-722-1172-3    www.pmat.info

อ่านต่อ
รู้ทัน “ไข้เลือดออก” ภัยร้ายจากยุงลาย

โรคไข้เลือกออก ภัยน่ากลัวที่ทำให้มีผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตเพิ่มในช่วงฤดูฝน ซึ่งโรคนี้เกิดจากเชื้อไวรัสเดงกี่ที่มีถึง 4 สายพันธุ์ด้วยกัน โดยมียุงลายตัวเมียเป็นพาหะของโรค หากถูกยุงลายกัดจะได้รับเชื้อผ่านต่อมน้ำลายของยุงแล้วมีระยะฟักตัว 2-7 วัน ( นานสุด 15 วัน) อาการโรคไข้เลือดออก (แบ่งเป็น 3 ระยะ) ระยะแรก ไข้สูงเฉียบพลัน 2-7 วัน คลื่นไส้ อาเจียน ปวดกล้ามเนื้อ ผื่นแดงตามตัว ผิวหนังมีจุดเลือดออก ระยะวิกฤติ ไข้ลด กระสับกระส่าย อาเจียนมาก ปัสสวะน้อย ความดันโลหิตต่ำ ปลายมือปลายเท้าเย็น อาจมีเลือดออกในกระเพาะ ระยะฟื้น ความดันโลหิตดีขึ้น ปัสสาวะออกมากขึ้น มีผื่นแดงและคันตามปลายมือ ขา ปลายเท้า เริ่มรับประทานอาหารได้ การรักษาโรคไข้เลือดออกในปัจจุบันยังใช้การรักษาตามอาการเนื่องจากยังไม่มียาต้านเชื้อไวรัสไข้เลือดออก ดังนั้นแพทย์จะรักษาโดยประคับประคองให้ร่างกายผู้ป่วยให้เข้าสู่ภาวะปกติโดยเร็ว ดังนั้นการป้องกันตัวเองจากโรคไข้เลือดออกจึงเป็นวิธีที่ดีสุดนั่นเอง

ยุงวายร้าย ภัยฤดูฝน

ยุงลายบ้านและยุงลายสวน เป็นที่รู้กันว่าเป็นพาหะของไข้เลือดออก โรคนี้ระบาดในแถบเอเชียตะวันออกฉียงใต้ มีรายงานพบผู้ป่วยปีละ 50 ล้านคน เสียชีวิตปีละ 25,000 คน และประเทศไทยมักพบการระบาดในทุก 2-4 ปี อาการของไข้เลือดออกที่พบคือ มีไข้สูงเฉียบพลัน อาจียน รับประทานอาหารไม่ได้ ตับโต และอาจมีเลือดกำเดาออก พบการเปลี่ยนแปลงทางเกร็ดเลือด และมีรั่วของเหลวออกจากหลอดเลือด จึงจัดเป็นโรคติดต่ออันตราย เพราะอาจทำให้เกิดการช็อกเป็นอัตรายถึงแก่ชีวิตได้ โรคนี้มีระยะฟักตัวประมาณ 1 สัปดาห์ มียุงลายสวนเป็นพานะนำเชื้อไวรัสเดงกี ยุงจะมีเชื้อตลอดชีวิต และผลการวิจัยพบว่ายุงที่มีเชื้อสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสเดงกีไปยังลูกหลานได้ ซึ่งเชื้อนี้มี 4 ซีโรทัยป์ ได้แก่ เดงกี 1,เดงกี 2,เดงกี 3,เดงกี 4 การติดเชื้อเกิดจากถูกยุงที่มีเชื้อไวรัสเดงกีกัด ในการติดเชื้อเดงกีครั้งแรกมักจะไม่แสดงอาการ หรือหากมีอาการจะมีไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีผื่นหรือจุดเลือดออกที่ผิวหนัง แต่ไม่กี่วันก็หายไปเอง ผู้ป่วยจะมีภูมิคุ้มกันต่อไวรัสชนิดนั้นไปตลอดชีวิต แต่ยังสามารถเป็นไข้เลือดออกได้อีก หากติดเชื้อไวรัสเดงกีต่างชนิดกับครั้งแรก การติดเชื้อซ้ำด้วยไวรัสเดงกีต่างชนิดกันมักจะทําให้เกิดโรคไข้เลือดออก เนื่องจากภูมิคุ้มกันที่มีในครั้งแรกไปกระตุ้นให้มีการเพิ่ม ปริมาณของไวรัสชนิดหลัง และนําไวรัสเข้าสู่เซลล์ เป็นผลให้มีไวรัสปริมาณมากในร่างกายของผู้ป่วย นอกจากนี้พบว่าเซลล์ภูมิคุ้มกันเกิดการตายแบบทําลายตัวเองทําให้ภูมิคุ้มกันลดลง อาการของผู้ป่วยแต่ละรายรุนแรงต่างกัน หากรักษาไม่ทันอาจทําให้ถึงแก่ชีวิตได้ การใช้สารในกลุ่มควบคุมการเจริญเติบโตของแมลง […]

ประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562

ตามที่ทางสมาคมฯ ได้เลื่อนการจัดงานประชุมใหญ่สามัญประจำปีในเดือนมีนาคมออกไป เนื่องจากผลกระทบไวรัสโคโรน่า (COVID-19) และให้ความร่วมมือกับทางภาครัฐในการป้องกันการโรคติดต่อดังกล่าว โดยปัจจุบันสถานการณ์เกี่ยวกับโรค COVID-19 ได้ดีขึ้นตามลำดับ ทางคณะกรรมการบริหารสมาคมฯ จึงได้ลงมติให้จัดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 ขึ้นใหม่ และให้มีมาตรการ การตรวจคัดกรองผู้ที่จะเข้าร่วมประชุมใหญ่ทุกท่านอย่างเคร่งครัด โดยมีกำหนดการตามรายละเอียดดังต่อไปนี้ วันประชุม : วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม 2563สถานที่ : โรงแรมทาวน์ อิน ทาวน์  ณ. ห้องศรีวรา เอ เวลา 09.00 – 16.00 น. โดยมีวาระการประชุมดังต่อไปนี้ ประธานแจ้งให้ที่ประชุมทราบ รับรองรายงานการประชุมครั้งก่อน คณะกรรมการบริหารแถลงกิจการในรอบปี เสนองบดุลซึ่งผู้สอบบัญชีรับรองแล้ว เลือกตั้งคณะกรรมการบริหารใหม่ (ไม่มี) พิจารณาแต่งตั้งผู้สอบบัญชีและกำหนดค่าตอบแทน เรื่องอื่นๆ (ถ้ามี) จึงขอเรียนเชิญสมาชิกทุกท่านเข้าร่วมประชุมตามวัน เวลา ดังกล่าวด้วย กำหนดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี 2562 เวลา หัวข้อ ผู้บรรยาย 9.00 – 9.30 น. […]