ยุงลาย....ต้นเหตุของโรคไข้เลือดออก - สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย

ยุงลาย….ต้นเหตุของโรคไข้เลือดออก
20/02/2020

ไข้เลือดออกเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัสแดงกี ซึ่งโรคนี้สามารถแพร่กระจายจากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่งโดยยุงลายเพศเมียที่มีเชื้อกัด อาจก่อให้เกิดการเจ็บป่วยและเสียชีวิตได้ เป็นได้ทุกวัย ในปี พ.ศ. 2561 ประเทศไทยมีผู้ป่วย
โรคไข้เลือดออก จำนวน 85,849 คน ในจำนวนนี้เสียชีวิตมากกว่าหนึ่งร้อยคน ถือได้ว่าเป็นโรคติดต่อที่มีแมลงเป็นพาหะที่มีความสำคัญมากของประเทศไทย

            ยุงพาหะนำโรคไข้เลือดออกได้แก่ ยุงลายบ้าน (Aedes aegypti) และยุงลายสวน (Aedes albopictus)
ยุงลายบ้านมีลักษณะเด่น มักกัดคนในบ้าน ใช้ตาได้ดีกว่ายุงอื่นทำให้ชอบออกหากินในช่วงเวลากลางวันทั้งช่วงเช้าและบ่าย พบได้ทุกฤดู แต่พบมากในช่วงฤดูฝน และอาจจะกัดมากกว่าหนึ่งคนจนกว่าจะอิ่ม  แหล่งเพาะพันธุ์ของยุงทั้งสองชนิดสามารถพบได้ในภาชนะต่างๆ ที่มีน้ำสะอาดขัง ทั้งภายในบ้าน และรอบๆ บ้าน บางครั้งอาจพบลูกน้ำยุงลายทั้งสองชนิดอยู่ร่วมในภาชนะเดียวกัน ยุงลายมีการเจริญเติบโตแบ่งออกเป็น 4 ระยะ ได้แก่ ระยะไข่ ระยะตัวอ่อน ระยะดักแด้หรือ
ตัวโม่ง และระยะตัวเต็มวัย  ในระยะตัวอ่อนลูกน้ำยุงลายกินอินทรียสารที่อยู่ในแหล่งน้ำเป็นอาหาร ระยะตัวเต็มวัยทั้ง
เพศผู้และเพศเมียกินน้ำหวาน เพื่อเป็นเหล่งพลังงาน อย่างไรก็ตามเฉพาะยุงเพศเมียเท่านั้นที่ดูดเลือด เพื่อนำโปรตีน
จากเลือดไปสร้างไข่ ดังนั้นยุงเพศเมียที่มีเชื้อสามารถถ่ายทอดเชื้อไวรัสสู่คนได้

            ยุงลายบ้านและยุงลายสวน มีความสามารถในการรับเชื้อไวรัส เพิ่มปริมาณ และถ่ายทอดได้ เชื้อไวรัสเข้าสู่ยุงเพศเมียโดยการดูดเลือดจากผู้ป่วยไข้เลือดออก จากนั้นเชื้อเข้าสู่ระบบทางเดินอาหาร (Infect) เพิ่มจำนวน (Replicate) และแพร่กระจ่ายไปยังส่วนต่างๆ (Disseminate) รวมทั้งต่อมน้ำลาย ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญต่อการถ่ายทอดเชื้อไวรัสก่อโรคไข้เลือดออก เมื่อยุงที่มีเชื้อดูดเลือดจากบุคคลถัดไป เชื้อจะถูกปล่อยเข้าสู่ร่างก่ายของผู้ที่ถูกยุงกัดเนื่องจากระหว่างการดูดกินเลือดยุงจะปล่อยน้ำลาย ซึ่งมีเชื้อโวรัส ทำให้ร่างกายของผู้ที่ถูกยุงกัดได้รับเชื้อ จากนั้นเชื้อไวรัสมีการเพิ่มจำนวนขึ้นในร่างกาย และอาจจะก่อให้เกิดอาการป่วยเกิดขึ้นได้ (อาการป่วยจะมากหรือน้อยหรือรุนแรงขึ้นอยู่กับระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายส่วนหนึ่ง)

            อาการของโรคไข้เลือดออก (Dengue fever) เริ่มจากการมีไข้สูง ตัวร้อน ครั่นเนื้อครั่นตัว เป็นต้น หลังจากหายป่วยแล้วผู้ป่วยจะภูมิต้านทานโรค อย่างไรก็ตามผู้ที่เคยป่วยด้วยโรคไข้เลือดออกก็ยังสามารถเป็นโรคไข้เลือดออกได้ และมีความรุนแรงยิ่งขึ้น เนื่องจากเชื้อไวรัสมีทั้งหมดสี่สายพันธุ์ หากมีการรับเชื้อครั้งแรกเข้าไป ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันแก่สายพันธุ์ที่ได้รับเชื้อเข้าไปครั้งแรก แต่อย่างไรก็ตามหากครั้งถัดไปได้รับเชื้อที่มีสายพันธุ์ที่แตกต่างไปจากครั้งแรก จะก่อให้เกิดอาการที่มักจะรุนแรงขึ้น และอาการอาจจะพัฒนาเป็น Dengue hemorrhagic fever และ Dengue shock syndrome ถึงขั้นเลือดออกหรือหมดสติ หรือเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

             ขณะนี้ยังไม่มีวัคซีนหรือยาที่ใช้ป้องกันโรคไข้เลือดออกได้ร้อยเปอร์เซ็น การป้องกันไม่ให้ยุงลายกัดในเวลากลางวันดีที่สุด ซึ่งอาจใช้ การทายากันยุง (สารจากธรรมชาติหรือน้ำมันสมุนไพรไทย อาทิ ตะไคร้หอม ตะไคร้บ้าน กานพลู เป็นต้น)  หรือทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ลูกน้ำยุงลายรอบๆ หรือในบ้าน การทำให้บ้านโปร่ง โล่ง มีอากาศถ่ายเทได้สะดวก
ทำให้ไม่มีที่เกาะพักของยุงลายตัวเต็มวัย เป็นต้น

ข่าวสารเเละกิจกรรมอื่นๆ
Recent News and Event
การฝึกอบรมทางวิชาการประจำปี พ.ศ. 2567  ในหลักสูตร  “ความรู้พื้นฐานในการจัดการแมลงและสัตว์อื่น” วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567

???? สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย PMAT ขอเชิญทุกท่านเข้าร่วมกำหนดการฝึกอบรมทางวิชาการประจำปี พ.ศ. 2567  ในหลักสูตร  “ความรู้พื้นฐานในการจัดการแมลงและสัตว์อื่น”  โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิ เพื่อการกระจายองค์ความรู้ทางชีววิทยา และนิเวศวิทยา เพื่อเป็นประโยชน์ต่อวงการกำจัดแมลงและนักวิชาการที่เกี่ยวข้อง . ???? วันอังคารที่ 17 กันยายน 2567   เวลา 08.00 – 17.00 น. ???? โรงแรมเอส รัชดา ห้วยขวาง กรุงเทพฯ ห้องแกรนด์บอลรูม . อัตราค่าลงทะเบียน . ลงทะเบียนและตรวจสอบรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่  . ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมจากสมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย ???? สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย โทร. 02-722-1172-3    www.pmat.info

ผลการดำเนินการจัดทำแบบสอบถาม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อภาพรวมธุรกิจกำจัดแมลงในประเทศไทย

ผลการดำเนินการจัดทำแบบสอบถาม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อภาพรวมธุรกิจกำจัดแมลงในประเทศไทย ดังที่ก่อนหน้านี้ สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทยของเราได้ดำเนินการจัดทำแบบสอบถามเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อภาพรวมธุรกิจกำจัดแมลงในประเทศไทย เพื่อเป็นประโยชน์ในการพัฒนา และดำเนินงานของสมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทยในอนาคต เนื่องจากผลการดำเนินการได้มีการสรุปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว ทางสมาคมฯ จึงขอรายงานผลการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อภาพรวมธุรกิจกำจัดแมลงในประเทศไทย โดยท่านสามารถดาวน์โหลดไฟล์ผลการดำเนินการจัดทำแบบสอบถามได้ตามลิงค์ด้านล่าง . . ผลการดำเนินการจัดทำแบบสอบถาม เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่มีต่อภาพรวมธุรกิจกำจัดแมลงในประเทศไทย

ขอเชิญชวนเข้าร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวดในหัวข้อ “แมลงและสัตว์รบกวนภายในครัวเรือน (ปลวก มด แมลงสาบ หนู ยุง แมลงวัน)”

???? สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย TPMA ขอเชิญชวนทุกท่านเข้าร่วมส่งภาพถ่ายเข้าประกวด ในโครงการการประกวดภาพถ่ายแมลง และสัตว์รบกวนภายในครัวเรือน ในหัวข้อ “แมลงและสัตว์รบกวนภายในครัวเรือน (ปลวก มด แมลงสาบ หนู ยุง แมลงวัน)” เพื่อเป็นประโยชน์ในการส่งเสริมให้ประชาชนเกิดความเข้าใจและร่วมมือกัน ในการสอดส่องปัญหาจากแมลงและสัตว์รบกวน . ???? ชิงรางวัลมูลค่ารวมกว่า 40,000 บาท ???? เปิดรับผลงานเข้าประกวดตั้งแต่วันนี้ – 10 สิงหาคม 2567 ???? ประกาศผลการประกวดวันที่ 9 กันยายน 2567 . ประเภทยอดนิยม ผู้ส่งผลงานต้องโพสภาพลงบน Facebook หรือ Instragram โดยเปิดตั้งค่าเป็นสาธารณะ และ ติด Hashtag : #tpmaphotocontest1 . ลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ประเภทยอดเยี่ยม . ศึกษากติกาเพิ่มเติม . ติดต่อสอบถามเพิ่มเติมจากสมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย ???? สมาคมผู้ประกอบกิจการกำจัดแมลงแห่งประเทศไทย โทร. 02-722-1172-3